คู่มือความดี คลังธรรม บทสวดมนต์ เรื่องราวเพื่อการฝึกจิต แนวทางการปฏิบัติความดี คำสอน คติธรรม แรงบันดาลใจ
4เทคนิค หยุดเครียดถาวร
ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ หญิงชายมีโอกาสเกิดความเครียดได้เหมือนกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ นอนไม่หลับ เป็นต้น ความเครียดเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือปัญหาการเงิน การทำงาน ปัญหาสัมพันธภาพ เรื่องสุขภาพ และปัญหาอื่นๆในชีวิตประจำวัน
วิธีการจัดการความเครียดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับปัญหาและสถานการณ์ ท่านสามารถเลือกจัดการความเครียดได้หลายเทคนิค นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ ได้แบ่งการจัดการความเครียดได้ 4 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้
วิธีที่หนึ่ง คือ พยายามหลีกเลี่ยง (Avoid) สถานการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เราเครียด วิธีหลีกเลี่ยงทำได้โดย รู้จักปฏิเสธ เลี่ยงเผชิญหน้ากับบุคคลที่ทำให้เครียด ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ไม่พูดเรื่องที่ความคิดเห็นไม่ตรงกัน เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำประจำวัน
วิธีที่สอง คือ ปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียด (Alter) ถ้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นได้ควรพยายามปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียดซึ่งทำได้โดย บอกความรู้สึกของเราต่อคนนั้นด้วยวิธีนุ่มนวล หรือการปรับเปลี่ยนตนเองในกรณีที่เราอาจเป็นสาเหตุทำให้คนอื่นเครียด และจัดสรรเวลาการทำงานให้ดี เพราะการพยายามทำงานหนักหรือทำกิจกรรมต่างๆตลอดทั้งวันไม่ใช่เรื่องดี จะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าและเกิดความเครียดได้ง่ายเช่นกัน
วิธีที่สาม คือ ปรับตัวให้เข้ากับความเครียด (Adapt) ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสาเหตุความเครียด จึงควรปรับตัวให้เข้ากับมัน โดยยอมรับหรือเปลี่ยนทัศนคติหรือความคาดหวังจากเดิมไปบ้าง ด้วยการมองปัญหาในมุมใหม่ มองสถานการณ์ให้เป็นด้านดี มองปัญหาที่เกิดในระยะยาวที่จะเกิดในโอกาสต่อไป เช่น จะต้องเตรียมพร้อมเรื่องการเงินในช่วงเปิดเทอมหน้าของลูกอย่างไร และลดมาตรฐานลง คนที่พยามทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ มักเครียดง่ายและทำให้คนอื่นเครียดด้วย หากคิดว่าที่เขาทำได้แค่นี้ก็ดีแล้ว
วิธีที่สี่ คือ ยอมรับความเครียด (Accept) หากเราหนี หรือปรับเปลี่ยน หรือควบคุมสาเหตุความเครียดบางอย่างไม่ได้ เช่น ความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ภาวะการเงินที่ถดถอย หรืออุบัติเหตุ การยอมรับปัญหาจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่อาจยากในตอนแรก ทำได้ดังนี้ อย่าคิดว่าเราสามารถควบคุมทุกอย่างได้ คิดว่าปัญหายากๆ คือการทดสอบ พูดระบายกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท และการให้อภัย ซึ่งตรงกับพระพุทธศาสนาที่ให้รู้จักการให้อภัย เพราะผู้คนในโลกนี้รวมทั้งตัวเราอาจทำอะไรที่ผิดพลาดได้ การให้อภัยช่วยให้ความรู้สึกขุ่นเคืองลดลง อารมณ์ดีขึ้น พร้อมที่จะเดินไปข้างหน้า
จะปล่อยให้ความเครียดรุมเร้าเราอยู่ทำไม ควรหลีกเลี่ยง ปรับเปลี่ยน ปรับตัวหรือยอมรับให้ความเครียดเป็นมิตรที่ดี เช่น ยอมรับข้อดีการเป็นคนไม่สวย ทำให้ไม่เป็นเป้าสายตาของหนุ่มๆ อันธพาล โชคดีที่เกิดมาไม่ร่ำรวย ทำให้ไม่ต้องมาห่วงการดูแลทรัพย์สิน ขโมยขึ้นบ้านได้ทองคำไปสิบบาทยังโชคดีที่ไม่ได้ทำร้ายคนในบ้าน และโชคดีที่มีหน้าที่การงานที่มั่นคง มีอวัยวะครบ ไม่พิการ เป็นต้น
บทความจาก นิตยสารชีวจิต วันที่ ๑-๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕
ปีที่ ๑๔, ฉบับที่ ๓๓๒ หน้า ๙๖ และ หน้า ๙๗.
โดย. นพ.มล. สมชาย จักรพันธุ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ที่เก็บของบล็อก
-
▼
2013
(22)
- ► 04/14 - 04/21 (3)
- ► 04/21 - 04/28 (8)
- ► 05/26 - 06/02 (1)
- ▼ 06/23 - 06/30 (4)
- ► 06/30 - 07/07 (2)
- ► 09/08 - 09/15 (1)
- ► 12/01 - 12/08 (2)
- ► 12/08 - 12/15 (1)
-
►
2014
(1)
- ► 07/06 - 07/13 (1)
-
►
2015
(2)
- ► 05/10 - 05/17 (2)
-
►
2016
(9)
- ► 04/24 - 05/01 (1)
- ► 05/01 - 05/08 (4)
- ► 09/18 - 09/25 (3)
- ► 12/04 - 12/11 (1)
-
►
2020
(1)
- ► 07/26 - 08/02 (1)

ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น